ทำ พ.ร.บ. รถยนต์สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไร ทำได้ที่ไหนบ้าง
จำนวนผู้เข้าชม : 97

ทำ พ.ร.บ. รถยนต์สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นอย่างไร ทำได้ที่ไหนบ้าง
สำหรับเจ้าของรถมือใหม่ที่เพิ่งถอยรถออกมาสดๆ ร้อนๆ อาจจะกำลังมึนงงสงสัยว่ามีอะไรต้องทำบ้างเมื่อมีรถยนต์คันแรก หนึ่งในสิ่งที่บรรดามือใหม่ป้ายแดงทั้งหลายไม่ควรพลาดนั่นคือเรื่องของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องมีติดรถยนต์ทุกคัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเบื้องต้น และเป็นการทำประกันภาคบังคับตามกฎหมาย
สำหรับมือใหม่แล้ว ควรเริ่มทำ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหน อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ทำความเข้าใจก่อนว่า พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร
คำว่า “พ.ร.บ. รถยนต์” แม้เป็นมือใหม่ก็คงเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจจะไม่ทราบว่าคืออะไร และมีไว้เพื่ออะไร
“พ.ร.บ. รถยนต์” หรือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” นั้นก็คือ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ “ประกันภัยรถยนต์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำ” เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเบื้องต้น โดย พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก แต่จะคุ้มครองเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองทรัพย์สิน หรือก็คือ ไม่ได้คุ้มครองหรือจ่ายค่าเสียหายในกรณีรถยนต์ได้รับความเสียหาย
ข้อดีของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ติดเอาไว้ก็คือ หากเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา พ.ร.บ. รถยนต์จะจ่ายค่าเสียหายให้แก่ทุกฝ่ายทันทีโดยไม่เกี่ยงว่าใครเป็นฝ่ายผิด อีกทั้งหากพิสูจน์ความผิดแล้ว ยังมีวงเงินจ่ายชดเชยเพิ่มเติมให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย
ในการเบิกจ่ายนั้น กรณีที่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ให้เบิกจาก พ.ร.บ. รถยนต์ก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ ถ้าหากวงเงินไม่พอจึงค่อยไปเบิกเพิ่มจากประกันภัยอื่นๆ หรือประกันภัยภาคสมัครใจที่เรารู้จักและเรียกกันว่า ประกันภัยชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 2, ชั้น 3+, ชั้น 3
เพราะอะไรจึงต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์
สาเหตุหลักที่ทำให้เราต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ก็คือ “เป็นเพราะกฎหมายบังคับให้ทำ” เนื่องจากทางกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ใช้เลขที่กรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ในการต่อภาษีรถยนต์ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งถ้าหากไม่ทำ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วละก็ นอกจากเมื่อประสบอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าเสียหายได้แล้ว ยังมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย
การทำ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นทำได้ไม่ยาก อีกทั้งราคาการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ในแต่ละปีก็ไม่สูง ข้อดีของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์จึงมีมากกว่าข้อเสีย อย่างไรมือใหม่ก็ควรทราบและควรทำ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้เพื่อให้ใช้รถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับความคุ้มครองเบื้องต้น
มือใหม่หัดขับรู้ไว้...ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนและอย่างไร
เมื่อรู้ความสำคัญของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว ข้อสงสัยต่อมาคงหนีไม่พ้น “แล้วเราจะทำ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ที่ไหน และอย่างไร” ซึ่งการทำ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด แม้เป็นมือใหม่ก็ทำได้สบายๆ
การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ สำหรับรถยนต์มือหนึ่งป้ายแดง
เมื่อออกรถคันใหม่ป้ายแดง สำหรับคนที่เป็นมือใหม่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับประกันภัยและ พ.ร.บ. รถยนต์เลยนั้นอาจสงสัยว่า “ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหน” และ “จะทำ พ.ร.บ. รถยนต์ได้อย่างไร” “ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อนหรือหลังจากรับรถ”
ตามปกติแล้ว เมื่อถึงวันรับรถทางศูนย์ที่เราออกรถจะดำเนินการเรื่องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ให้ตั้งแต่แรก โดยทางเซลล์ผู้ดูแลจะแจ้งรายละเอียด พ.ร.บ. รถยนต์ รวมทั้งประกันตามโปรโมชั่นที่เราเลือก และให้ “เลขที่สัญญา” กับใบเสร็จเอาไว้ หลังจากนั้นไม่เกิน 30 วัน ทางศูนย์รถยนต์จะส่งกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยมาให้ แต่บางแห่งก็อาจจะมอบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์มาให้พร้อมเล่มทะเบียนในวันรับรถเลย หลังจากนั้นก็เพียงแค่เช็กระยะเวลาคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ และไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เมื่อครบกำหนด
แต่ถ้าหากคุณต้องการทำ พ.ร.บ. รถยนต์โดยเลือกบริษัทประกันภัยที่คุณไว้ใจด้วยตัวเอง คุณสามารถแจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อทำ พ.ร.บ. รถยนต์ แล้วนำ พ.ร.บ. รถยนต์ดังกล่าวไปแจ้งกับทางเซลล์ที่ดูแลรถของคุณได้เช่นกัน
การทำ พ.ร.บ. รถยนต์สำหรับรถยนต์มือสอง
สำหรับมือใหม่ที่ต้องการมีรถยนต์เป็นของตัวเองคันแรก การออกรถยนต์มือหนึ่งอาจมีราคาสูงเกินไป หลายคนจึงเลือกรถยนต์มือสองซึ่งมีราคาถูกกว่า และเมื่อเฉี่ยวชนก็ไม่รู้สึกเสียดายมากนัก ซึ่งการทำ พ.ร.บ. รถยนต์สำหรับรถยนต์มือสองนั้นก็ทำได้ไม่ยากเช่นกัน
ดังที่กล่าวไปว่าการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งที่ต้องทำสำหรับรถยนต์ทุกคัน แม้จะเป็นรถยนต์มือสองก็ต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ติดมาด้วยตั้งแต่แรก โดยเราสามารถเช็กกับผู้ขายได้ว่ารถยนต์คันนี้ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดหรือยัง ถ้าหากหมดแล้ว สามารถเลือกได้ว่าจะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เอง หรืออาจจะตกลงกับทางผู้ขายให้จัดการให้เรียบร้อยก็ได้เช่นกัน
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง
- ทำเรื่อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทางกรมขนส่งทางบกโดยตรง สามารถไปดำเนินการได้ที่สำนักงานกรมขนส่งทางบก
- ทำเรื่อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/
- ทำเรื่อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านทางตัวแทนประกันภัยต่างๆ เช่น TIPINSURE
- ทำเรื่อง ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านทางที่ทำการไปรษณีย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิซในร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ
เมื่อได้รถยนต์มาแล้ว อย่างลืมตรวจสอบรายละเอียด พ.ร.บ. รถยนต์ให้ดี โดยเฉพาะระยะเวลาการคุ้มครองว่าหมดเมื่อไร เพราะการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เร็วที่สุดนั้นจะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง และไม่โดนโทษปรับอีกด้วย
หากต้องการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับ TIPINSURE สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ คลิก